นอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

1. ปัจจัยภายใน หรือ ความเจ็บป่วยของร่างกายและจิตใจ (Physical/Psychiatric Illness) เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล รวมทั้งคนที่มีปัญหาเรื่องสารสื่อประสาทผิดปกติ เช่น โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน การเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน เช่น โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับ โรคกรดไหลย้อน โรคหัวใจ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคปวดไขข้อ โรคมะเร็ง รวมถึง ผู้สูงอายุ จะมีอาการ นอนไม่หลับ อยู่บ่อย เหตุผลเพราะว่า ระบบการนอนถูกรบกวน เช่น ผู้สูงอายุที่นอนกลางวันนานๆ จะ นอนไม่หลับ ในเวลากลางคืน ก็จะตื่นขึ้นมาทำกิจกรรม ทำให้ลูกหลานซึ่งกำลังพักผ่อนตื่นตามไปดูแลด้วย เมื่อมีพฤติกรรมตื่นตอนกลางคืนบ่อย ร่างกายก็จะอ่อนเพลีย เพราะไม่ได้พักผ่อนต่อเนื่องกัน ตอนกลางวันก็จะง่วงอีก ส่งผลให้นอนกลางวันมาก และไปตื่นเอากลางดึก ซึ่งปัจจัยข้อนี้ ต้องได้รับการแก้ไขและรักษาถ้าเจ็บป่วยด้วยยา

42043e3754d1353e857658d254619c2c.jpg

2. ปัจจัยภายนอก หรือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม (Environment Factors) การได้รับ ยา สารเคมี หรือ การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน ได้แก่

  • การดื่มคาเฟอีนและสารกระตุ้นประสาทอื่นๆที่ได้รับระหว่างวัน เช่น ชา กาแฟ หรือ ยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายหลับไม่ปกติ เช่น ทำให้ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ
  • แสงหรือเสียงรบกวน เพราะการนอนหลับที่ดีที่สุด ที่จะทำให้สมองได้พักผ่อนเต็มที่ คือ เสียงที่เงียบที่สุด และแสงสว่างที่น้อยที่สุด
  • บรรยากาศที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการนอน เช่น เครื่องนอน ที่นอนที่อบอุ่น ไม่นุ่มและไม่แข็งจนเกินไปรองรับสรีระในการนอนและส่งเสริมการพักผ่อน เครื่องนอนที่สะอาดและเพียงพอ เหมาะสมต่อการใช้งานจึงมีความจำเป็นมาก อ่านเพิ่มเติม https://dtogenthailand.com/Insomnia

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

เริ่มแรกต้องค้นหาสาเหตุ และกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับก่อน ถ้าเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย หรือโรคทางจิตเวช ก็ต้องรักษาโรคเหล่านั้นให้ดีขึ้น

อาจใช้ยาช่วยให้นอนหลับในช่วงเริ่มต้น และใช้ยาเป็นระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือความเจ็บป่วยทางจิตเวชดีขึ้น อาการนอนไม่หลับก็จะหมดไป และสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น ยาช่วยให้นอนหลับ ควรรับประทานเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องนานเกิน 2-6 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้ติดยา หรือต้องพึ่งยาตลอดไป


ยาช่วยให้นอนหลับ หรือยานอนหลับ จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับที่เป็นแบบชั่วคราว หรือเพิ่งมีอาการมาไม่นาน เช่นไม่เกิน 2-4 สัปดาห์ ให้นอนหลับได้ดี และช่วยให้อาการต่างๆ ดีขึ้นเร็ว และสามารถหยุดใช้ยานอนหลับได้เร็ว


โดยทั่วไปเชื่อว่าคนเราต้องการการนอนหลับ 8-9 ชั่วโมง จึงเพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการชั่วโมงการนอนน้อยกว่านี้ก็ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ของชีวิตในเวลากลางวันได้อย่างปกติมีประสิทธิภาพ แต่ทางตรงกันข้ามก็มีคนบางคนเช่นกันที่ต้องการชั่วโมงการนอนมากกว่า 8 ชั่วโมง เด็กทารกต้องการเวลานอนมากกว่า 12 ชั่วโมง เมื่อโตขึ้นเด็กต้องการการนอนลดเหลือประมาณ 10 ชั่วโมง ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ต้องการนอน 8-9 ชั่วโมง และต้องการนอนน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ในผู้สูงอายุเวลานอนกลางคืนจะลดลง ตื่นบ่อย และมักจะอยากนอนในตอนกลางวัน แต่คนเราแต่ละคนนั้นต้องการการนอนไม่เท่ากัน การนอนที่เพียงพอขึ้นอยู่กับว่าถ้าคุณตื่นขึ้นรู้สึกกระปรี้กระเปร่าพร้อมรับวันใหม่อย่างสดชื่นนั่นเอง จึงไม่จำเป็นต้องยึดติดกับจำนวนชั่วโมงการนอนที่เท่ากับคนอื่น

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

“นอนไม่หลับ” กับ 8 วิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้หลับสบายขึ้น

  1. จัดห้องนอนให้เหมาะสมแก่การนอน เช็ครอบห้องให้ดี อย่าให้มีเสียงรบกวนแทรกเข้ามาได้ ควรปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป สำคัญเลยคือ ห้องนอนควรมืดสนิท เพื่อการนอนหลับที่ดี มีประสิทธิภาพ
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หลังช่วงบ่ายจนถึงช่วงก่อนนอน
  3. ก่อนนอน ดื่มนมอุ่นๆ สักแก้ว จะช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น
  4. ไม่ควรงีบหลับในตอนกลางวัน เพราะอาจรบกวนการนอนในยามค่ำคืนได้  ถ้าง่วงจนทนไม่ไหวจริงๆ ก็อย่างีบหลับเกิน 1 ชั่วโมงเป็นอันขาด
  5. นอนให้เพียงพอ อย่านอนมากเกินไป หลังตื่นนอนควรลุกออกจากเตียง แล้วเดินไปสูดอากาศยามเช้าซะดีกว่า
  6. เข้านอน และตื่นนอนให้เป็นเวลา ทำให้ติดเป็นนิสัย ไม่ใช่ว่าคืนนี้นอนดึก พรุ่งนี้ขอตื่นสายสักนิดได้ไหม? ตอบเลยว่า ไม่ได้ ไม่งั้นอาจจะกระทบกับเวลานอน ทำให้อาการนอนไม่หลับกลับมาอีก
  7. ถ้านอนไม่หลับเกิน 15-20  นาที ควรลุกออกจากเตียงมาหากิจกรรมอย่างอื่นทำ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือวิชาการหรือธรรมมะ น่าจะช่วยให้รู้สึกง่วงได้ไม่น้อย  หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์หรือเล่นคอมพิวเตอร์ เพราะแสงจากจอ จะกระตุ้นให้สมองตื่นตัวได้
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-45 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายจะช่วยลดความตึงเครียดทางอารมณ์และร่างกายได้ หากออกกำลังกายในช่วงเช้า และเย็นได้ผลดีที่สุด ไม่ควรออกกำลังกายตอนดึก หรือใกล้เวลานอน เพราะอุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นและไปกระตุ้นสมองให้ทำงาน จะทำให้เราหลับยากกว่าเดิม