นอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

1. ปัจจัยภายใน หรือ ความเจ็บป่วยของร่างกายและจิตใจ (Physical/Psychiatric Illness) เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล รวมทั้งคนที่มีปัญหาเรื่องสารสื่อประสาทผิดปกติ เช่น โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน การเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน เช่น โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับ โรคกรดไหลย้อน โรคหัวใจ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคปวดไขข้อ โรคมะเร็ง รวมถึง ผู้สูงอายุ จะมีอาการ นอนไม่หลับ อยู่บ่อย เหตุผลเพราะว่า ระบบการนอนถูกรบกวน เช่น ผู้สูงอายุที่นอนกลางวันนานๆ จะ นอนไม่หลับ ในเวลากลางคืน ก็จะตื่นขึ้นมาทำกิจกรรม ทำให้ลูกหลานซึ่งกำลังพักผ่อนตื่นตามไปดูแลด้วย เมื่อมีพฤติกรรมตื่นตอนกลางคืนบ่อย ร่างกายก็จะอ่อนเพลีย เพราะไม่ได้พักผ่อนต่อเนื่องกัน ตอนกลางวันก็จะง่วงอีก ส่งผลให้นอนกลางวันมาก และไปตื่นเอากลางดึก ซึ่งปัจจัยข้อนี้ ต้องได้รับการแก้ไขและรักษาถ้าเจ็บป่วยด้วยยา

42043e3754d1353e857658d254619c2c.jpg

2. ปัจจัยภายนอก หรือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม (Environment Factors) การได้รับ ยา สารเคมี หรือ การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน ได้แก่

  • การดื่มคาเฟอีนและสารกระตุ้นประสาทอื่นๆที่ได้รับระหว่างวัน เช่น ชา กาแฟ หรือ ยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายหลับไม่ปกติ เช่น ทำให้ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ
  • แสงหรือเสียงรบกวน เพราะการนอนหลับที่ดีที่สุด ที่จะทำให้สมองได้พักผ่อนเต็มที่ คือ เสียงที่เงียบที่สุด และแสงสว่างที่น้อยที่สุด
  • บรรยากาศที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการนอน เช่น เครื่องนอน ที่นอนที่อบอุ่น ไม่นุ่มและไม่แข็งจนเกินไปรองรับสรีระในการนอนและส่งเสริมการพักผ่อน เครื่องนอนที่สะอาดและเพียงพอ เหมาะสมต่อการใช้งานจึงมีความจำเป็นมาก อ่านเพิ่มเติม https://dtogenthailand.com/Insomnia
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาเหตุนอนไม่หลับ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาเหตุนอนไม่หลับ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

7 สาเหตุนอนไม่หลับและเคล็ดลับแก้ไข โดย dtogenthailand

โรคนอนไม่หลับ” หรือ Insomnia ซึ่งมีรูปแบบของอาการมากมาย เช่น การนอนไม่หลับ การนอนหลับไม่สนิท การหลับๆ ตื่นๆตลอดทั้งคืน การตื่นขึ้นมากลางดึก การตื่นเช้าผิดปกติ และการตื่นมาแล้วไม่สดชื่น เป็นต้น

  • 1. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เสียงดังรบกวน สว่างเกินไป หรือคับแคบเกินไป ทำให้นอนหลับยาก
  • 2. อาการเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ มีอาการไอ
  • 3. ความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน หรือมีอาการซึมเศร้าและท้อแท้ หมดกำลังใจ หมดหวังในการใช้ชีวิต คิดว่าตัวเองไร้ค่า ยึดติดและอยู่กับตัวเองมากเกินไป
  • 4. แอลกอฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดนั้นอาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับ
  • 5. ท้องว่าง ทำให้เกิดอาการอึดอัด หิวขึ้นมาในช่วงดึก หรืออิ่มมากเกินไป จนทำให้มีอาการแน่นท้องกลางดึก จนนอนไม่หลับ
  • 6. ภาวะการนอนหลับ เช่น การนอนละเมอ ฝันร้าย หรือนอนไม่หลับจนติดเป็นนิสัย
  • 7. หน้าที่การงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่สม่ำเสมอ เช่น พยาบาล ยาม

วิธีแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ

  • – จัดที่นอนให้เหมาะสม สบายเหมาะแก่การนอน เงียบสงบ อุณหภูมิที่เย็นสบายพอเหมาะ ไม่ควรเปิดโทรทัศน์ และหากต้องการให้ร่างกายพักผ่อนมากจริงๆ ให้ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด จะได้ไม่มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ
  • – ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน เช่น การนวดให้ร่างกายผ่อนคลาย การแช่น้ำอุ่น
  • – หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมในช่วงกลางวัน
  • – เมื่อรู้สึกง่วงจะต้องเข้านอนทันที เข้านอนให้เวลานั้นเหมือนกันทุกคืน ตรงเวลา ร่างกายจะจดจำเวลานอนเอง
  • – หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดท้อง เนื่องจากมีอาการกรดไหลย้อน ถ้าท้องว่างให้รับประทานอาหารเบาๆ เช่น ขนมปังชิ้นเล็ก นมอุ่ม หรือน้ำผลไม้
  • – หากนอนไม่หลับ ให้ไปทำกิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนั่งสมาธิ เมื่อรู้สึกง่วงให้เข้ามานอน
  • – ก่อนนอนควรทำสมองให้โล่ง ปลอดโปร่ง ไม่นำเรื่องเครียด กดดัน ผิดหวัง หรือเสียใจมาคิด ทำจิตใจให้ผ่อนคลายก่อนนอน ใช้กลิ่นเข้ามาช่วยในการนอนหลับ เช่น กลิ่นวานิลลา กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นยูคาลิปตัส กลิ่นพิมเสน หรือกลิ่นคาโมมายล์ ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย บรรเทาความเครียด จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง และผ่อนคลาย
  • – หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชาที่มีคาเฟอีน หรือน้ำอัดลม เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ และลดประสิทธิภาพการนอนหลับ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ลง ถึงแม้ว่าจะช่วยในเรื่องการนอนหลับ หากมากไปอาจส่งผลต่อร่างกายได้
  • – ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายมีการตื่นตัว นอนไม่หลับ
  • – ปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัด อาจมีการแนะนำให้ใช้ยานอนหลับ ยาผ่อนคลาย ได้รับการปรึกษา หรือมีตารางการปฏิบัติมาให้ฝึกบำบัดการนอนหลับ
  • – รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ปลาโอ ปลาเก๋า ปลากะพง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อัลมอลต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง และกล้วยสุก เพราะแมกนีเซียม ลดอาการซึมเศร้า และมีผลต่อกระบวนการควบคุมการนอนหลับ โดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน นอกจากนั้นอาหารที่มีโปรตีนและฟอสฟอรัสนั้นยังมีแมกนีเซียมด้วย เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่ ผักใบเขียว และเนื้อสัตว์ อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://dtogenthailand.com/Insomnia